วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551








สังคม สารสนเทศเป็นสังคมใหม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมสารสนเทศ จำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทุกวันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวัน มีการใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อมีกฎหมายแล้ว ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธ ความผิดว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
ทำไมจึงต้องมีการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน อัตโนมัติ ตลอดจนเครื่องมือสื่อสารเพื่อการประกอบกิจการงานและการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเทคโนโลยีเอื้อประโยชน์ ต่อการทำงานด้านต่าง ๆ ทำให้มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ การมีกฎหมายจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce E-Business) โดย ที่นานาชาติที่พัฒนาแล้วต่างพัฒนากฎหมายของตนเอง โดยเน้นความเป็นสากลที่จะติดต่อค้าขายระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นกัน
หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสถานการทำงานขององค์กรทั่วไป ทุกองค์กรกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ มีความพยายามที่จะลดการใช้กระดาษเอกสาร หันมาใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แทน และนำมาแลกเปลี่ยน (EDI) กันได้ง่าย ขณะเดียวกันการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การฝากถอนเงินอัตโนมัติ การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน มีการซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการบริหารรายการย่อยขององค์กร ผ่านทางเครือข่าย มีการทำงานระบบออนไลน์ ที่สามารถเปิดบริการการทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย
หลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ล้วนมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของตน แล้ว สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นผู้ร่าง มีการกำหนดกฎหมายที่จะร่างทั้งสิ้นหกฉบับ















กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย ถ้าข้อมูล ได้จัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถที่จะเข้าถึงเพื่อนำข้อความออกมาใช้ในภายหลังได้ ให้ถือว่า ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว (มาตรา 6 และมาตรา 7) โดยมีการพิสูจน์หลักฐานที่เป็น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 10) ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งและรับผ่านเครือข่ายเพื่อ รองรับวิทยาการสมัยใหม่ กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิตอล (digital signature) เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน และองค์กรที่ทำ หน้าที่ออกใบรับรองลายมือชื่อ การประกอบการรับรองลายมือชื่ออนุญาต ตลอดจนการกำกับการประกอบการรับรอง เพื่อให้ระบบลายมือชื่อดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งเสมือนการลงลายมือชื่อในเอกสาร กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลความสงบสุขของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การ ละเมิดสิทธิ์ โดยเฉพาะผู้บุกรุกหรือ hacker ที่ถือว่าเป็นการกระทำ การบุกรุก และเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากข้อมูลในรูปดิจิตอลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบ ถึงสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายจึงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกิจการทางด้านการเงินและการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เป็นทั้ง eCash eMoney หรือ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกันจะมีบทบาท มีการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้รูปแบบเอกสารการเงิน อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ กฎหมายลำดับรองรัฐธรรมนูญมาตรา 78
ในมาตรา 78 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยปัจจุบัน เน้นให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและ ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั้งประเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีส่วนช่วยในการสร้างประโยชน์ในเรื่องความสงบสุข และลดอาชญากรรมทาง ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์





การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยกำลังอยู่ในระดับการร่าง โดยสองฉบับแรกกำลังเข้าสู่สภาในการประชุม สมัยต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกไม่นาน
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับการสร้างความน่าเชื่อถือ และความสงบสุขของคนใน สังคมสารสนเทศ สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องรู้ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง การดูแลสิทธิ ของตนเอง ไม่นำสิทธิของตนเองไปให้ผู้อื่นใช้ ซึ่งหากผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น นำรหัสลับของตนเองไป ใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เจ้าของจะต้องรับผิดชอบและจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
จุดเริ่มกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย
เริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 "คณะกรรมการเทคโนโลยีีีีสารสนเทศแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กทสช"
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่
1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีการวางนดยบายและกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทางการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคลโดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี
3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อรองรับแนวนโยบายพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนและการกระจายสารสนเทศให้เท่าเทียมกันและทั่วถึงทั้งประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
4.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล เพื่อวางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคล เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ กำหนดสิทธิให้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลที่อาจถูกนำไปประมวลผลเผยแพร่ในทางมิชอบซึ่งจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ
5.กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในยุคคอมพิวเตอร์ เป้นการกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล ระบบเครือข่าย
6.กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคลฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551

การเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศ










หลักสูตร


1.หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
..
1.1 แขนงวิชาเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ... รายละเอียด
1.2 แขนงวิชาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ... รายละเอียด
1.3 แขนงวิชาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ... รายละเอียด
1.4 แขนงวิชาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ... รายละเอียด

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2.1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคปกติ 4 ปี ... รายละเอียด
2.2 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2 ปี หลังอนุปริญญา ... รายละเอียด

ปฏิทินวิชาการประจำภาคเรียนที่ 2 / 2550 ...
ปฏิทินวิชาการประจำภาคเรียนฤดูร้อน / 2550




















ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีทั้งหมด 6 ห้อง โดยมีการปรับปรุงทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ให้เป็นปัจจุบันและทันสมัยเสมอ และมี
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งกับผู้เรียนและผู้สอนอย่างครบครัน และทุกห้องสามารถเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
เพื่อการสืบค้นข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก

ตารางสอนภาคปกติ ภาคเีรียนที่ 1/2551 .. รายละเอียด
ตารางสอนภาคเีรียนที่ 1/2551 โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) .. รายละเอียด
ตารางสอนภาค กศ.พ. ภาคการศึกษา 3/2550 .. รายละเอียด


รูปอาจารย์คณะคอมพิวเตอร์ธุรกิจ




อาจารย์นัยนพัศ อินจวงจิรกิตต์

คุณวุฒิ คอ.ม. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

Ph.d. เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ (กำลังศึกษา)

E-mail : injoung2004@hotmail.com

โทร : 02-465-3255 ต่อ 11



อาจารย์สุรินทร์ ผลงาม


คุณวุฒิ คอ.ม. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


E-mail : i


โทร : 02-465-3255 ต่อ 12

อาจารย์นภาพร เจียพงษ์


คุณวุฒิ คอ.ม. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


E-mail : i


โทร : 02-465-3255 ต่อ



อาจารย์ปวิช ผลงาม


คุณวุฒิ คอ.ม. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


Ph.d. เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ (กำลังศึกษา)


E-mail : i


โทร : 02-465-3255 ต่อ 13




อาจารย์พรทิพย์ เหลียวตระกูล


คุณวุฒิ คอ.ม. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


Ph.d. นวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี(กำลังศึกษา)


E-mail : i


โทร : 02-465-3255 ต่อ 15




อาจารย์รัตนา ลีรุ่งนาวารัตน์


คุณวุฒิ คอ.ม. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


E-mail : i


โทร : 02-465-3255 ต่อ

ข่าวประกาศ

20/02/2551 กำหนดการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ .. รายละเอียด
26/02/2551 ตารางการนำเสนอสารนิพนธ์ .. รายละเอียด
5/03/2551 กำหนดการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บริหารธุรกิจ
ในวันพุธที่ 12 และ พฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2551
5/03/2551 กำหนดการประชุมโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2551 เวลา 9.00 น.
5/03/2551 กำหนดการสัมมนาเชิงวิชาการ ในวันที่ 9 - 12 กันยายน 2551
10/03/2551 รายวิชาที่ต้องเปลี่ยนรหัส .. รายละเอียด
14/03/2551 ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศ .. รายละเอียด
20/03/2551 เลื่อนกำหนดการสอบประมวลความรู้ DBMS .. รายละเอียด
15/12/2550 การเสวนาเชิงวิชาการเรื่อง "Open Source ของฟรีดีจริงหรือ?" ..
20/03/2551 การสัมมนาเรื่อง "ยกระดับมาตรฐานธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย" ..

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551

การทำจดหมายเวียน


ขั้นตอนแรกในกระบวนการจดหมายเวียน เกี่ยวข้องกับตัวเลือกสองตัวเลือก ประการแรก คุณเลือก ประเภทของเอกสาร ที่คุณต้องการผสานข้อความลงไป หลังจากนั้นให้เลือก เอกสารหลัก ที่คุณต้องการใช้
เลือกประเภทของเอกสารที่คุณต้องการผสานข้อมูลลงไป
บานหน้าต่างงาน จดหมายเวียน จะเปิดออกพร้อมกับคำถามเกี่ยวกับประเภทของเอกสารแบบผสานที่คุณต้องการสร้าง หลังจากที่เลือกเอกสารแล้ว ให้คลิก ถัดไป ที่ด้านล่างของบานหน้าต่างงาน
หมายเหตุ หากคุณตั้งให้เครื่องคอมพิวเตอร์สนับสนุนแฟกซ์ และติดตั้งแฟกซ์โมเด็มไว้ในเครื่อง คุณยังจะเห็นคำว่า แฟกซ์ ในรายการประเภทของเอกสาร
เลือกเอกสารหลักที่คุณต้องการใช้
หากเอกสารหลักของคุณ (หรือที่เรียกว่า เอกสารเริ่มต้น ในบานหน้าต่างงาน) เปิดอยู่แล้ว หรือคุณกำลังเริ่มต้น ทำงานกับเอกสารเปล่า คุณสามารถคลิกที่คำว่า Use the current document
หรือ คลิกที่คำว่า Start from a template หรือ Start from existing document และค้นหาตำแหน่งของแม่แบบหรือเอกสารที่คุณต้องการนำมาใช้
ลูกเล่น
เมื่อคุณคลิกที่คำว่า Start from a template และคลิก Select template ในบานหน้าต่างงาน แสดงว่าคุณได้เปิดกล่องโต้ตอบ Select Template จากที่นี่ คุณสามารถเปิดแม่แบบหนึ่งในหลาย ๆ แม่แบบที่ติดตั้งไว้ร่วมกัน Word คุณยังสามารถเข้าสู่แม่แบบอีกนับร้อยแม่แบบบนเว็บไซท์ Microsoft Office Online หากต้องการผสานข้อมูลเฉพาะลงในเอกสารหลัก คุณต้อง เชื่อมต่อกับ (หรือสร้างและเชื่อมต่อกับ) แฟ้มข้อมูลที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเฉพาะนั้น หากคุณไม่ต้องการใช้ข้อมูลทั้งหมดในแฟ้มเพื่อทำการผสาน คุณสามารถ เลือก ระเบียนที่คุณต้องการใช้
เชื่อมต่อกับแฟ้มข้อมูล
ในขั้นตอนนี้ของกระบวนการจดหมายเวียน คุณได้เชื่อมต่อกับแฟ้มข้อมูล ซึ่งเป็นที่ ๆ จัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่คุณต้องการผสานเข้ากับเอกสารของคุณ

หากคุณเก็บข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นข้อมูลปัจจุบันไว้ในรายการที่ติดต่อบนโปรแกรม Microsoft Office Outlook® นี่จะเป็นแฟ้มข้อมูลชั้นเยี่ยมที่จะนำมาใช้สำหรับการจัดทำจดหมายถึงลูกค้า หรืออีเมล เพียงคลิกที่คำว่า Select from Outlook contacts ในบานหน้าต่างงาน และเลือกโฟลเดอร์ ที่ติดต่อของคุณ
หากคุณมีแผ่นงานของโปรแกรม Microsoft Office Excel หรือฐานข้อมูลของ Microsoft Office ที่ภายในประกอบด้วยข้อมูลลูกค้า ให้คลิกที่คำว่า Use an existing list และคลิก Browse เพื่อค้นหาตำแหน่งของแฟ้ม
หากคุณยังไม่มีแฟ้มข้อมูล ให้คลิกที่คำว่า Type a new list และใช้ฟอร์มที่เปิดอยู่ เพื่อสร้างรายการของคุณ รายการจะถูกบันทึกไว้ในรูปของแฟ้มฐานข้อมูลจดหมาย (.mdb) ที่คุณสามารถนำมาใช้อีกครั้ง
หมายเหตุ หากคุณกำลังสร้างอีเมลหรือแฟกซ์แบบผสาน ดูให้แน่ใจว่า แฟ้มข้อมูลของคุณได้รวมคอลัมน์สำหรับที่อยู่อีเมลหรือหมายเลขแฟกซ์เอาไว้แล้ว คุณจำเป็นต้องใช้คอลัมน์นั้นภายหลังในกระบวนการจดหมายเวียน
เลือกระเบียนในแฟ้มข้อมูลที่คุณต้องการใช้
เพียงแค่เพราะคุณเชื่อมต่อเข้ากับแฟ้มข้อมูลเฉพาะ ย่อมไม่ได้หมายความว่า คุณต้องผสานข้อมูลจากระเบียนทั้งหมด (แถว) ในแฟ้มข้อมูลนั้นลงในเอกสารหลักของคุณ
หลังจากคุณเชื่อมต่อกับแฟ้มข้อมูลที่คุณต้องการใช้ หรือสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ กล่องโต้ตอบ Mail Merge Recipients จะเปิดออก คุณสามารถเลือกเซ็ตย่อยของระเบียนสำหรับจดหมายเวียนของคุณได้ด้วยการเรียงลำดับหรือกรองรายการ
ทำหนึ่งอย่างต่อไปนี้:
หากต้องการเรียงลำดับระเบียนในคอลัมน์จากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย ให้คลิกที่หัวเรื่องของคอลัมน์
หากต้องการกรองรายการ ให้คลิกลูกศรที่อยู่ติดกับหัวเรื่องของคอลัมน์ ที่ประกอบด้วยค่าที่คุณต้องการกรอง หลังจากนั้น ให้คลิกที่ค่าที่คุณต้องการ หรือถ้ารายการของคุณยาวมาก ให้คลิก (Advanced) เพื่อเปิดกล่องโต้ตอบที่ ๆ คุณสามารถกำหนดค่า คลิก (Blanks) เพื่อแสดงผลเฉพาะระเบียนที่ไม่มีข้อมูลใดอยู่ หรือ (Nonblanks) เพื่อแสดงผลเฉพาะระเบียนที่มีข้อมูลอยู่ภายใน
ลูกเล่น
หลังจากคุณได้กรองรายการแล้ว คุณสามารถแสดงผลระเบียนทั้งหมดอีกครั้งได้ด้วยการคลิกลูกศร และคลิกที่คำว่า (All)
ลบเครื่องหมายที่อยู่ในกล่องกาเครื่องหมายถัดจากระเบียน เพื่อยกเว้นระเบียนนั้น
ใช้ปุ่มเพื่อเลือกหรือยกเว้นระเบียนทั้งหมดหรือเพื่อค้นหาระเบียนเฉพาะ
ลูกเล่น
หากคุณสร้างแฟ้มข้อมูล ที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจดหมายเวียน ปุ่ม Edit จะทำงานในกล่องโต้ตอบนี้ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระเบียนได้หากคุณต้องการปรับปรุงแฟ้ม
หลังจากคุณเลือกระเบียนที่คุณต้องการแล้ว คุณก็พร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 3: เพิ่มเขตข้อมูลลงไปในเอกสารหลัก
if (typeof(FeedbackWizGenerateControl_Buttons) != 'undefined') FeedbackWizGenerateControl_Buttons('ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่','ใช่','ไม่','ฉันไม่ทราบ','ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์เพียงใด (ตอบหรือไม่ก็ได้)','เราจะสามารถทำให้ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์มากขึ้นได้อย่างไร (ตอบหรือไม่ก็ได้)','คุณต้องการที่จะทำอะไร (ตอบหรือไม่ก็ได้)','ย้อนกลับ','ส่ง','คำติชมของคุณกำลังถูกส่งไป','เราขอบคุณสำหรับคำติชมของคุณ','คุณต้องการการสนับสนุนหรือมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือไม่ โปรด{0}','ติดต่อเรา','http://office.microsoft.com/search/redir.aspx?assetid=FX101538731054','เปลี่ยนคำติชมของฉัน','แม้ว่า Microsoft จะไม่สามารถตอบทุกข้อคิดเห็นได้ แต่เราจะใช้คำติชมของคุณในการปรับปรุงเนื้อหาที่เรานำเสนอ','360');
ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์เพียงใด (ตอบหรือไม่ก็ได้) เราจะสามารถทำให้ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์มากขึ้นได้อย่างไร (ตอบหรือไม่ก็ได้) คุณต้องการที่จะทำอะไร (ตอบหรือไม่ก็ได้)
คำติชมของคุณกำลังถูกส่งไป
เราขอบคุณสำหรับคำติชมของคุณ
เปลี่ยนคำติชมของฉัน
แม้ว่า Microsoft จะไม่สามารถตอบทุกข้อคิดเห็นได้ แต่เราจะใช้คำติชมของคุณในการปรับปรุงเนื้อหาที่เรานำเสนอ
คุณต้องการการสนับสนุนหรือมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือไม่ โปรดติดต่อเรา
ดูเพิ่มเติม
เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลจดหมายเวียน
แหล่งข้อมูลที่คุณใช้กับจดหมายเวียนได้
กล่องคำตอบ: ใช้ที่ติดต่ออีเมลในจดหมายเวียนของ Word
การเลือกแหล่งข้อมูลต่างๆ ให้เอกสารหลัก
การเลือกผู้รับที่จะใส่รวมไว้ในจดหมายเวียน เลือกระเบียนในแฟ้มข้อมูลที่คุณต้องการใช้
เพียงแค่เพราะคุณเชื่อมต่อเข้ากับแฟ้มข้อมูลเฉพาะ ย่อมไม่ได้หมายความว่า คุณต้องผสานข้อมูลจากระเบียนทั้งหมด (แถว) ในแฟ้มข้อมูลนั้นลงในเอกสารหลักของคุณ
หลังจากคุณเชื่อมต่อกับแฟ้มข้อมูลที่คุณต้องการใช้ หรือสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ กล่องโต้ตอบ Mail Merge Recipients จะเปิดออก คุณสามารถเลือกเซ็ตย่อยของระเบียนสำหรับจดหมายเวียนของคุณได้ด้วยการเรียงลำดับหรือกรองรายการ

ทำหนึ่งอย่างต่อไปนี้:
หากต้องการเรียงลำดับระเบียนในคอลัมน์จากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย ให้คลิกที่หัวเรื่องของคอลัมน์
หากต้องการกรองรายการ ให้คลิกลูกศรที่อยู่ติดกับหัวเรื่องของคอลัมน์ ที่ประกอบด้วยค่าที่คุณต้องการกรอง หลังจากนั้น ให้คลิกที่ค่าที่คุณต้องการ หรือถ้ารายการของคุณยาวมาก ให้คลิก (Advanced) เพื่อเปิดกล่องโต้ตอบที่ ๆ คุณสามารถกำหนดค่า คลิก (Blanks) เพื่อแสดงผลเฉพาะระเบียนที่ไม่มีข้อมูลใดอยู่ หรือ (Nonblanks) เพื่อแสดงผลเฉพาะระเบียนที่มีข้อมูลอยู่ภายใน
ลูกเล่น
หลังจากคุณได้กรองรายการแล้ว คุณสามารถแสดงผลระเบียนทั้งหมดอีกครั้งได้ด้วยการคลิกลูกศร และคลิกที่คำว่า (All)
ลบเครื่องหมายที่อยู่ในกล่องกาเครื่องหมายถัดจากระเบียน เพื่อยกเว้นระเบียนนั้น
ใช้ปุ่มเพื่อเลือกหรือยกเว้นระเบียนทั้งหมดหรือเพื่อค้นหาระเบียนเฉพาะ
ลูกเล่น
หากคุณสร้างแฟ้มข้อมูล ที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจดหมายเวียน ปุ่ม Edit จะทำงานในกล่องโต้ตอบนี้ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระเบียนได้หากคุณต้องการปรับปรุงแฟ้ม
หลังจากคุณเลือกระเบียนที่คุณต้องการแล้ว คุณก็พร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อ
หลังจากคุณเชื่อมต่อเอกสารหลักเข้ากับแฟ้มข้อมูลแล้ว คุณก็พร้อมที่จะ เพิ่มเขตข้อมูล ที่เป็นตัวระบุว่าข้อมูลเฉพาะจะไปปรากฏที่ตำแหน่งใดในแต่ละสำเนาของเอกสารที่คุณสร้างขึ้นเมื่อทำการผสานเอกสาร หากต้องการให้แน่ใจว่า โปรแกรม Word จะพบคอลัมน์ในแฟ้มข้อมูลของคุณที่ตรงกับที่อยู่ทั้งหมดหรือข้อความต้อนรับ คุณอาจจำเป็นต้อง จับคู่เขตข้อมูล
เพิ่มเขตข้อมูล
หากเอกสารหลักของคุณยังเป็นเอกสารเปล่า ให้พิมพ์ข้อมูลที่จะปรากฏในสำเนาแต่ละสำเนาลงไป หลังจากนั้น ให้เพิ่มเขตข้อมูลด้วยการคลิกการเชื่อมโยงหลายมิติในบานหน้าต่างงาน
เขตข้อมูลคือ ตัวจับพื้นที่ (placeholders) ที่คุณแทรกลงในเอกสารหลัก ณ ตำแหน่งที่คุณต้องการให้ข้อมูลเฉพาะปรากฏ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถคลิกที่การเชื่อมโยง Address block หรือ Greeting line ในบานหน้าต่างงานเพื่อเพิ่มเขตข้อมูลไว้ใกล้ ๆ กับด้านบนสุดของจดหมายประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้จดหมายที่ส่งถึงผู้รับแต่ละคน มีข้อมูลที่อยู่และคำต้อนรับที่กำหนดขึ้นเอง เขตข้อมูลจะปรากฏในเอกสารของคุณภายในเครื่องหมายรูปตัววี ตัวอย่างเช่น «AddressBlock»
หากคุณคลิกที่คำว่า More items ในบานหน้าต่างงาน คุณจะสามารถเพิ่มเขตข้อมูลที่ตรงกับคอลัมน์ใด ๆ ในแฟ้มข้อมูลของคุณลงไป ตัวอย่างเช่น แฟ้มข้อมูลอาจรวมคอลัมน์ที่ชื่อ Personal Note เอาไว้ด้วย เมื่อเพิ่มเขตข้อมูล Personal_Note ไว้ที่ตอนท้ายของจดหมายแบบฟอร์ม คุณจะสามารถเลือกกำหนดสำเนาแต่ละสำเนาได้ด้วยตัวเอง และทำได้แม้กระทั่งกำหนดซองจดหมาย ด้วยการเพิ่มบาร์โค้ตไปรษณีย์— หากคุณใช้โปรแกรม Word รุ่นภาษาอังกฤษ (อเมริกัน)— หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิก (หากคุณติดตั้งโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกไว้ในเครื่อง)
จับคู่เขตข้อมูล
หากคุณแทรกเขตข้อมูลที่อยู่ หรือเขตข้อมูลสำหรับบรรทัดคำต้อนรับลงในเอกสาร ระบบจะขอให้คุณเลือกรูปแบบที่คุณต้องการนำมาใช้ ตัวอย่างเช่น ภาพประกอบต่อไปนี้แสดงภาพกล่องโต้ตอบ Greeting Line ที่เปิดออกเมื่อคุณคลิกที่คำว่า Greeting line ในบานหน้าต่างงาน คุณใช้รายการใต้คำว่า Greeting line format เพื่อเลือกสิ่งที่คุณต้องการ




หากโปรแกรม Word ไม่สามารถจับคู่ส่วนของข้อความต้อนรับหรือที่อยู่กับคอลัมน์ที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลของคุณ ทั้งบรรทัดที่อยู่และข้อความต้อนรับจะไม่ได้รับการผสานอย่างถูกต้อง แต่คุณหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้ด้วยการคลิกที่คำว่า Match Fields กล่องโต้ตอบ Match Fields จะเปิดออก
หลังจากเพิ่มเขตข้อมูลลงในเอกสารหลักแล้ว คุณก็พร้อมที่จะ แสดงตัวอย่าง เอกสารที่เกิดจากการผสาน เมื่อคุณพอใจกับภาพแสดงตัวอย่างที่เห็น คุณสามารถดำเนินการ ผสาน ให้เสร็จสมบูรณ์
ภาพแสดงตัวอย่างการผสาน
คุณสามารถแสดงตัวอย่างเอกสารที่ผสานแล้วของคุณ และทำการเปลี่ยนแปลงก่อนสิ้นสุดกระบวนการผสานเอกสาร

หากต้องการแสดงตัวอย่าง ให้เลือกทำดังนี้:
เลื่อนดูเอกสารที่ผสานแต่ละเอกสารด้วยการใช้ปุ่มถัดไปและก่อนหน้าในบานหน้าต่างงาน
แสดงตัวอย่างเอกสารใดเอกสารหนึ่งได้ด้วยการคลิกที่คำว่า Find a recipient
คลิกที่คำว่า Exclude this recipient หากคุณตระหนักว่า คุณไม่ต้องการรวมระเบียนที่คุณดูอยู่
คลิก Edit recipient list เพื่อเปิดกล่องโต้ตอบ Mail Merge Recipients ที่ ๆ คุณสามารถกรองรายการหากคุณเห็นระเบียนที่คุณไม่ต้องการรวม
คลิก Previous ที่ด้านล่างของบานหน้าต่างงาน เพื่อย้อนกลับไปหนึ่งหรือสองขั้นตอน หากคุณต้องการทำการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น
เมื่อคุณพอใจกับเอกสารที่ผสานแล้ว ให้คลิก Next ที่ด้านล่างของบานหน้าต่างงาน
ทำการผสานให้เสร็จสมบูรณ์
สิ่งที่คุณจะทำต่อจากนี้ จะขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสารที่คุณกำลังสร้าง หากคุณกำลังผสานจดหมาย คุณสามารถสั่งพิมพ์จดหมาย หรือแก้ไขจดหมายเหล่านั้น หากคุณเลือกแก้ไขจดหมาย โปรแกรม Word จะบันทึกจดหมายนั้นไว้ในแฟ้มหนึ่ง โดยแต่ละหน้าในเอกสารจะประกอบด้วยจดหมายหนึ่งฉบับ
ไม่ว่าคุณกำลังสร้างเอกสารประเภทใด คุณสามารถพิมพ์ ส่ง หรือบันทึกเอกสารทั้หมดหรือเฉพาะเซ็ตย่อยของเอกสาร
ลูกเล่นเกี่ยวกับอีเมล
หากคุณกำลังสร้างอีเมลผสาน โปรแกรม Word จะส่งข้อความทันทีหลังจากคุณทำการผสานเสร็จ ดังนั้น หลังจากเลือกข้อความที่ต้องการส่งถึงผู้รับแล้ว ระบบจะขอให้คุณระบุว่าคอลัมน์ใดในแฟ้มข้อมูลของคุณที่โปรแกรม Word จะพบอีเมลสำหรับผู้รับ ระบบยังจะขอให้คุณพิมพ์ชื่อเรื่องลงในบรรทัดเรื่องสำหรับข้อความนั้นด้วย
โปรดจำไว้ว่า เอกสารผสานที่คุณบันทึก นั้นเป็นเอกสารอีกชุดหนึ่งแยกจากเอกสารหลัก คุณควรบันทึกเอกสารหลักไว้หากคุณวางแผนใช้เอกสารนี้สำหรับการผสานจดหมายอื่น
เมื่อคุณบันทึกเอกสารหลัก นอกเหนือจากการบันทึกเนื้อหาและเขตข้อมูลของเอกสารนั้น คุณยังได้บันทึกการเชื่อมต่อของเอกสารเข้ากับแฟ้มข้อมูล เมื่อคุณเปิดเอกสารหลักในครั้งต่อไป ระบบจะขอให้คุณเลือกว่า คุณต้องการให้มีการรวมข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลเข้ากับเอกสารหลักอีกครั้งหรือไม่
หากคุณคลิก Yes เอกสารจะเปิดออกพร้อมกับข้อมูลจากระเบียนแรกที่ผสานไว้ หากคุณเปิดบานหน้าต่างงาน (เมนู Tools เมนูย่อย Letters and Mailings คำสั่ง Mail Merge) แสดงว่า คุณอยู่ที่ขั้นตอน Select recipients คุณสามารถคลิกที่ การเชื่อมโยงหลายมิติในบานหน้าต่างงานเพื่อแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อรวมระเบียนชุดอื่น หรือเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับแฟ้มข้อมูลอื่น หลังจากนั้น คุณสามารถคลิกที่คำว่า Next ที่ด้านล่างของบานหน้าต่างงาน เพื่อทำการผสานในขั้นตอนต่อไป
หากคุณคลิก No การเชื่อมต่อระหว่างเอกสารหลัก และแฟ้มข้อมูลจะนำมาใช้ไม่ได้ เอกสารหลักจะกลายเป็นเอกสาร Word มาตรฐาน เขตข้อมูลจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลเฉพาะที่มาจากระเบียนแรก


































































































































































































































































วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประวัติส่วนตัวฉัน




ชื่อ นางสาว ยุพาพร
นามสกุล วงษ์วิลัย
อายุ 24 ปี
วันเดือนปีเกิด 21 -11-27
ชื่อเล่น นัท
ปัจจุบันที่ทำอยู่ นักศึกษา พร้อมกับทำงานควบคู่กัน
นิสัยส่วนตัว โกรธง่ายหายเร็ว ร่าเริง ทะลึ่ง+
อะไรที่ไม่ชอบ คนขี้งก ขี้เหนียว ขึ้ต่างๆ
สีที่ชอบ ฟ้า ชมพู
ความฝันในอนาคต อยากเรียนจบเร็วๆ ทำงานดีๆ เงินเยอะ



































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































Blog เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนบันทึกเหตุการณ์ส่วนตัว ชื่อเต็มๆ มาจาก Weblog โดยคนที่เขียน blog เขาจะเรียกว่า blogger หรือ Weblogger ที่จริงแล้วจะเรียกชื่ออะไรคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเรามากนักเอาเป็นว่าให้พอรู้จักชื่อละกัน หากท้าวความย้อนกลับไปในอดีต คนที่จะทำเว็บไซต์ส่วนตัวจะต้องศึกษาเครื่องมือเขียนเว็บอย่าง HTML หรือหากจะให้ง่ายหน่อยก็ใช้ทูลสำเร็จรูปอย่าง Dreamweaver, Frontpage ในการสร้างเว็บขึ้นมา หลังจากสร้างเสร็จจะต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรีเพื่ออัปโหลดข้อมูลในเครื่องเราขึ้นไปเก็บอีกทีหนึ่ง จึงจะมีเว็บของตัวเองได




1 ระบุรายละเอียดของบล็อกBlog title : ระบุชื่อบล็อกBlog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut.blogpot.comWorld Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมาเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue







2. ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue





3. ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่






4. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน





5. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post



6. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล